"มาทำความรู้จักกับฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) กันเถอะ"

Last updated: 24 มี.ค. 2566  |  80103 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"มาทำความรู้จักกับฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) กันเถอะ"

 
"มาทำความรู้จักกับฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) กันเถอะ"
 
Hard disk คืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ตั้งแต่ Hard disk ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, Notebook, External Hard disk หรือในเครื่อง Server ที่มีการเก็บข้อมูลที่สำคัญจำนวนมหาศาล และทำการบันทึกข้อมูลทุกวัน

แต่น่าแปลกที่คนส่วนรู้จักกับเจ้า Hard disk อย่างผิวเผินหรือบางคนแทบจะไม่รู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้เลย ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญตัวนี้ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของ Hard disk มากยิ่งขึ้น พิจารณาในการเลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษาได้ดียิ่งขึ้น

ประเภทของ Hard disk

ปัจจุบันเทคโนโลยีของ Hard disk ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มี Hard disk หลากหลายประเภท ซึ่งหลักๆก็จะมีดังนี้
 


1) (PATA) Parallel Advance Technology Attachment

หรือที่รู้จักกันในชื่อ IDE หรือ Integrated Drive Electronics ซึ่งได้ถูกพัฒนาโดยบริษัท Western Digital เป็น Hard disk รุ่นเก่าที่มีความเร็วในการเขียน/อ่านข้อมูลไม่มากนัก และมีความจุน้อย แต่ก็ยังมีใช้จนถึงปัจจุบัน
 
 
2) SCSI (Small Computer System Interface)

เอสซีเอสไอหรือที่เรียกกันติดปากว่า สกัสซี่นั้น ได้รับความนิยมสูงในการนำมาใช้งานกับ Server องค์กรในสมัยก่อน เนื่องจากมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงในสมัยนั้น และมีการทำงานที่ช่วยลดภาระการทำงานของ CPU แต่ในปัจจุบัน SCSI นั้นถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลอื่น จนแทบจะไม่ค่อยได้เห็นกันแล้ว
 
 
3) SATA (Serial Advanced Technology Attachment)

Serial ATA หรือ SATA นั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกเริ่มใช้ราวๆปี 2545 จุดเด่นภายนอกคือมีขนาดที่เล็กลงอย่างมาก ทั้งตัว Hard disk และสาย(SATA) ทำให้มีต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่เจ้าตัว SATA เองมีการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นอย่างมาก จึงได้รับความนิยมที่แพร่หลาย ใช้ใน PC ทั่วไปและ SERVER บางรุ่น
 
4) Solid-State Drive (SSD)

SSD เป็นเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบใหม่ ที่ใช้แผงวงจรในรูปแบบ ship หน่วยความจำ ในการเก็บข้อมูลโดยจะมีอุปกรณ์ทำงานร่วมกัน 2 ส่วนหลักๆ คือ ชิปหน่วยความจำ (Memory) และ ชิปควบคุมการทำงาน (Controller) ปราศจากจานหมุนในการบันทึกข้อมูลเช่น Hard disk ในรุ่นอื่นๆที่กล่าวมาทำให้ไม่มีเสียงจานหมุนรบกวนและเรื่องของความร้อนที่เกิดจากการหมุนของจานด้วย ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอย่างมากรวมถึงความเร็วในการบันทึกข้อมูล ที่เร็วขึ้นอย่างมาก แต่จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง

5) Serial Attached SCSI (SAS)

SAS ทำหน้าในการรับส่งข้อมูลผ่าน Protocol ในรูปแบบ Point to Point ระหว่าง Hard drive และ Tape Drive โดยผ่านตัวควบคุม (controller) แบบอนุกรม Serial Attached SCSI (SAS) ถูกนำมาใช้รับส่งข้อมูลแทนการส่งข้อมูลแบบขนาน (SCIS) แต่ยังคงใช้คำสั่งของ (SCIS) อยู่ เพียงแต่ได้ถูกปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
 
 
 
ความเร็วของ Hard disk
 
 
คือความเร็วในการบันทึกข้อมูลนั่นเองยิ่งมีความเร็วมาก ก็จะสามารถลดระยะเวลาในการบันทึกข้อมูล ความเร็วของ Hard disk มีหน่วยเป็น RPM(Revolutions Per Minute) ปกติฮาร์ดดิสก์ทั่วไป จะมีความเร็ว 5400 RPM(รอบต่อนาที) ฮาร์ดดิสก์ที่รุ่นใหม่ๆ จะมีความเร็ว 7,200 RPM(รอบต่อนาที) หรือ 10,000 RPM(รอบต่อนาที) ถึง 15,000 RPM(รอบต่อนาที)
 

ความจุของ Hard disk

หมายถึงเนื้อที่ในการบันทึกข้อมูล ยิ่งมีความจุมาก ยิ่งบันทึกข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ความจุของ Hard disk มีหน่วยเป็น MB ในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น โดยมีหน่วยเป็นหน่วยเป็น GB (1GB = 1,024MB) จนถึงมีหน่วยเป็น TB (1TB = 1,024GB) โดยที่ขนาดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะมีตั้งแต่ 500GB ไปจนถึง 16TB
 

ขนาดของ Hard disk
 


ปัจจุบัน Hard disk ที่ได้รับความนิยมมีอยู่สามขนาดด้วยกัน ได้แก่ ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งนิยมใช้ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งนิยมใช้ใน Notebook และ External Hard disk และขนาด 1.8 นิ้ว ซึ่งส่วนมากใช้กับ โน๊ตบุ๊ค แล็ปท็อปขนาดพกพา และอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก

ทั้งนี้ หาก Hard disk ของท่านเกิดปัญหา ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ท่านสามารถปรึกษาเราได้ฟรี


ติดต่อเราที่ IDR LAB ศูนย์กู้ข้อมูลที่ได้มาตรฐานและพร้อมที่สุดในประเทศไทย ปรึกษาปัญหาและส่งตรวจเช็ค ประเมินก่อนซ่อมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line ID : @idrlab หรือ Hotline สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง
โทร. 094-692-8080 , 080-591-3536


“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตดิจิทัลของคุณกลับมามีความสุขดังเดิม”
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้